ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา มะแว้งต้น, มะแขว้งขม, มะแว้ง, มะ แคว้งขม
มะแว้งต้น, มะแขว้งขม, มะแว้ง, มะ แคว้งขม
Solanum indicum L.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Solanaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Solanum indicum L.
 
  ชื่อไทย มะแว้งต้น, มะแขว้งขม, มะแว้ง, มะ แคว้งขม
 
  ชื่อท้องถิ่น ลำโดซัง(ลั้วะ), กอคะซะ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่), เบล่สะกรามซ่อง(ปะหล่อง), มะแคว้งขม(คนเมือง), มะแคว้ง(คนเมือง)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ต้น เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก ลักษณะของลำต้นเล็กแข็ง ลำต้นมีหนามขึ้นทั่วไป
ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปรี ขนาดเล็กกว่าใบมะเขือพวง ขอบใบหยักเว้าลึก ปลายใบแหลม ใบมีขนนุ่มขึ้นทั่วไป
ดอก ดอกออกเป็นกระจุก ออกตามบริเวณง่ามใบ และปลายกิ่งลักษณะของดอกเป็นดอกขนาดเล็ก มีสีม่วง
ผล เมื่อดอกร่วงโรยลงก็จะติดผล ลักษณะของผลเป็นรูปกลมเกลี้ยง มีขนาดเล็ก ผลอ่อนมีลายสีขาว แต่เมื่อแก่หรือสุกผลจะมีสีแดง ผลมีรสขม[1]
 
  ใบ ใบ ลักษณะของใบเป็นรูปรี ขนาดเล็กกว่าใบมะเขือพวง ขอบใบหยักเว้าลึก ปลายใบแหลม ใบมีขนนุ่มขึ้นทั่วไป
 
  ดอก ดอก ดอกออกเป็นกระจุก ออกตามบริเวณง่ามใบ และปลายกิ่งลักษณะของดอกเป็นดอกขนาดเล็ก มีสีม่วง
 
  ผล ผล เมื่อดอกร่วงโรยลงก็จะติดผล ลักษณะของผลเป็นรูปกลมเกลี้ยง มีขนาดเล็ก ผลอ่อนมีลายสีขาว แต่เมื่อแก่หรือสุกผลจะมีสีแดง ผลมีรสขม[1]
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ผล ใช้ประกอบอาหาร เช่นแกง น้ำพริก(กะเหรี่ยงเชียงใหม่,คนเมือง)
ผล รับประทานสดกับน้ำพริกหรือลาบ(คนเมือง)
ผลสุก เป็นส่วนผสมในการประกอบอาหารช่วยเพิ่มรสขม เช่น แกงใส่ปลาแห้ง หรือน้ำพริก(ปะหล่อง)
- ผลสุก บีบใส่ตาไก่ที่มีอาการเจ็บตา(ลั้วะ)
ผล ต้มน้ำดื่ม ช่วยให้เจริญอาหาร(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
ผล เอามาขยี้แล้วทาตาไก่บริเวณที่บวม หรือพอง(คนเมือง)
- ผล ใช้ทั้งผลดิบและผลสุก นำมาเป็นยาขมใช้กิน เป็นยาแก้ไอ ขับเสมหะ ลดน้ำตาลในเส้นเลือด ช่วยในการเจริญอาหาร
ราก ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ขับลม แก้ไอ และแก้คัน[1]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ.
 
  สภาพนิเวศ พบได้ทั่วไปทุกภาคของประเทศ ขึ้นได้เองตามธรรมชาติในบริเวณที่ราบ ชายป่าที่โล่งแจ้งและที่รกร้างริมทาง ต้องการน้ำและความชื้นในปริมาณปานกลาง
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง